24 ชั่วโมง

ทิศทางองค์กร

ทิศทางองค์กรโรงพยาบาลทองแสนขัน

ปี 2566 - 2570 (ทบทวนปีงบ2567)

วิสัยทัศน์ : “เป็นโรงพยาบาลชุมชน เพื่อประชาชนสุขภาพดี เป็นเลิศด้านเทคโนโลยี เจ้าหน้าที่มีความสุข  

พันธกิจ :  1. ให้บริการสุขภาพด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ แบบองค์รวมอย่างมีคุณภาพ

            2. การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และธรรมาภิบาล

คำจำกัดความ  

              ประชาชนสุขภาพดี  หมายถึง  ลดป่วย ลดตาย ลดภาวะแทรกซ้อน  

              เป็นเลิศด้านเทคโนโลยี หมายถึง  การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปตามมาตรฐาน HAIT  ในระดับสูงสุด

             การบริหารจัดการองค์กร หมายถึง 

                   Man ด้านบุคลากร: พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ เพียงพอ และมีความสุข

                   Money ด้านการเงินการคลัง: พัฒนาระบบการเงินการคลังให้ผ่านมาตรฐานคุณภาพ (TPS Score ระดับA)

                   Material ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์: ใช้เทคโนโลยีในการ สนับสนุนการบริหารจัดการด้านเครื่องมือและอุปกรณ์

                   Management ด้านการบริหารจัดการ: บริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

ค่านิยมหลัก : TPILC

     ทำงานเป็นทีม  โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง  ด้วยความมุ่งมั่นของบุคลากรที่มีการเรียนรู้และพัฒนางาน  อย่างต่อเนื่อง  (Team, Patient & customer focus, Individual commitment, Learning, Continuous process  improvement)   

นโยบายหลักโรงพยาบาล :

          1. พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA) ผสมผสานควบคู่ไปกับ  มาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานอื่นๆ โดยบุคลากรทุกระดับ และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน

          2. บุคลากรทุกคนให้บริการด้วยความตระหนักในสิทธิ  และศักดิ์ศรีของผู้รับบริการ  โดยยึดถือปฏิบัติตามสิทธิผู้ป่วย

          3. ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในความเป็นเลิศ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข (ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค คุ้มครองผู้บริโภคและอนามัยสิ่งแวดล้อม  ด้านบริการ ด้านบุคลากร และด้านบริหารด้วยธรรมาภิบาล)

นโยบายคุณภาพ :

            บุคลากรทุกคน  ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ประจำปี 2566-2570 :

เป้าหมายที่ ประชาชนสุขภาพดี         

          ยุทธศาสตร์ที่ 1.พัฒนาระบบบริการและความรอบรู้ด้านสุขภาพ

             1.1 กลยุทธ์: พัฒนาการบริการสุขภาพ ตามService Plan และกลุ่มโรคสำคัญในพื้นที่    

             1.2 กลยุทธ์: พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพสังคมผู้สูงวัย และผู้มีภาวะพึ่งพิง (LTC, IMC, PC)

             1.3 กลยุทธ์: พัฒนาการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย

             1.4กลยุทธ์: พัฒนาตามเป้าหมายความปลอดภัยด้านผู้ป่วย และประชาชน (Patient & People safety goals)

             1.5 กลยุทธ์: ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสม

         ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เอื้อต่อการบริการ 

             2.1 กลยุทธ์: พัฒนาการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง และพัสดุ อย่างมีประสิทธิภาพ (เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย บริหารการเงินการคลัง)

             2.2 กลยุทธ์: ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล

เป้าหมายที่ มีระบบเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการบริการบริหารจัดการ และพัฒนาคุณภาพ

          ยุทธศาสตร์ที่ 3. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

              3.1กลยุทธ์: พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการบริการ

              3.2 กลยุทธ์:  พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการบริหารจัดการ

             3.3 กลยุทธ์:  พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพ

เป้าหมายที่ 3 มีบุคลากรที่เพียงพอ มีศักยภาพ มีความสุข และมีความปลอดภัย

          ยุทธศาสตร์ที่ 4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านบุคลากร

             4.1 กลยุทธ์: บริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพบุคลากร

เข็มมุ่งการพัฒนางานปี 2567 :  

          เข็มมุ่งที่ 1  พัฒนาระบบการเงินการคลังให้ผ่านมาตรฐานคุณภาพ TPS Score ระดับ C

          เข็มมุ่งที่ 2  พัฒนาโปรแกรมบันทึกข้อมูลในระบบงานโรงพยาบาล (Paperless ในระบบผู้ป่วยใน,สนับสนุนการให้บริการExtend-OPDในชุมชน) ศูนย์จัดการข้อมูลสารสนเทศ  และโปรแกรมตรวจสอบข้อมูล

          เข็มมุ่งที่ 3  พัฒนาพฤติกรรมบริการบุคลากรและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

          เข็มมุ่งที่ 4 พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

          เข็มมุ่งที่ 5 พัฒนาระบบบริการการป้องกันการฆ่าตัวตายสำเร็จ

กลุ่มโรคสำคัญของโรงพยาบาล (6กลุ่มโรค13โรค)

          1. กลุ่มเรื้อรัง  ได้แก่  

             1) โรคความดันโลหิตสูง (HT : Hypertension) : ผู้ป่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์เป้าหมาย  

             2) โรคเบาหวาน (DM : Diabetes Mellitus) : ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีตามเกณฑ์เป้าหมาย    

             3) โรคซึมเศร้า (MDD : Major Depressive Disorder) : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหายทุเลา(Remission) ตามเกณฑ์

             4) Aging Syndrome : ผู้สูงอายุที่ผ่านการคัดกรองพบว่าเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมและภาวะหกล้ม ได้รับการดูแลรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ

          2. กลุ่มเฉียบพลัน  ได้แก่  

             1)  โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (AMI : Acute Myocardial Infarction) : ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วย  โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน  

             2) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) : ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 

          3. กลุ่มติดต่อ / ติดเชื้อ  ได้แก่  

             1) โรควัณโรค (TB : Tuberculosis): ความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ผ่านตามเกณฑ์

             2) โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) : ร้อยละของผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบซีพบผลบวกเข้าสู่กระบวนการรักษาและป้องกัน การติดเชื้อซ้ำ

             3) ไข้เลือดออก: อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินเกณฑ์

          4. กลุ่มแม่และเด็ก  ได้แก่

             1) ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด: ไม่พบทารกขาดออกซิเจนขณะคลอด  

             2) ภาวะตกเลือดหลังคลอด: ไม่พบมารดาตกเลือดหลังคลอด  

          5. กลุ่มส่งต่อ  ได้แก่

             1) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis): ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด   

          6. กลุ่มโรคบริบทตามพื้นที่

             1) โรคปอดฝุ่นหิน (Silicosis) : ไม่พบผู้ป่วยโรคปอดฝุ่นหินในพื้นที่